Publication

คู่มือเสรีภาพ ในการแสดงออก: ฉบับนักเรียน

เพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นพลเมืองผู้รอบรู้ในระบอบประชาธิปไตย ผู้ที่อยู่ในวัยสาวและหนุ่มควรได้รับการส่งเสริมและให้ความรู้ในประเด็นและแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก
คู่มือเสรีภาพ ในการแสดงออก: ฉบับนักเรียน
คู่มือเสรีภาพ ในการแสดงออก: ฉบับนักเรียน
UNESCO
2013
0000218618

คู่มือเสรีภาพ ในการแสดงออก: ฉบับนักเรียน

ยูเนสโกเป็นองค์การหนึ่งของสหประชาชาติที่มีอาณัติพิเศษในการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนเสรีภาพของสื่อและเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารด้วย ยูเนสโกได้ดำเนินการมากว่าทศวรรษเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเหล่านี้ไปทั่วโลกในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ด้านนโยบาย นักการเมือง รัฐบาล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ภาควิชาการ และผู้เกี่ยวข้องอีกมากมาย โดยคู่มือเสรีภาพในการแสดงออก: แนวทางต่อข้อความ คิดและประเด็น เป็นเอกสารที่แสดงถึงความต่อเนื่องของการส่งเสริมที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

บุคคลทุกคนควรมีเครื่องมือและกระบวนการที่จำเป็นเพื่อให้มีอิสระทางข้อมูล แม้ในปัจจุบันจะมีงานเขียนเกี่ยวกับ เสรีภาพในการแสดงออกจำนวนมากด้วยเหตุที่ยังคงเป็นแนวคิดและประเด็นถกเถียงได้อยู่เสมอก็ตาม แต่งานเขียน เหล่านั้นมักมิได้เขียนขึ้นโดยมีเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักเรียนหญิงและชายในระดับมัธยมปลายและระดับเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้น คู่มือฉบับนี้จึงเป็นเครื่องมือที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการส่งเสริมและให้ความรู้ในประเด็นและแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นพลเมืองผู้รอบรู้ในระบอบประชาธิปไตย

  • ทำไมเสรีภาพในการแสดงออกจึงสำคัญ?
  • เสรีภาพในการแสดงออกสามารถตกอยู่ในความเสี่ยงได้เมื่อใด?
  • เงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อให้เสรีภาพในการแสดงออกเจริญงอกงามได้คืออะไร?
  • บทบาทพิเศษของสื่อมวลชนที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออกมีอะไรบ้าง?
  • เสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์คืออะไร?
  • เราสามารถทำอะไรได้บ้าง?
  • ข้อจำกัดของเสรีภาพในการแสดงออกมีอะไรบ้าง?

คู่มือฉบับนี้พยายามตอบคำถามเหล่านี้ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและทำให้ผู้อ่านรู้สึกมีส่วนร่วม โดยปรากฏในลักษณะของ “กล่องเครื่องมือ” จำนวน 7 กล่อง ที่ให้ความสำคัญในแง่มุมที่แตกต่างกัน กล่องเครื่องมือแรกกล่าวถึงแนวคิดและอธิบายถึงความสำคัญของเสรีภาพในการแสดงออก กล่องเครื่องมือที่สองให้ความสำคัญกับการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งรวมถึงการควบคุมสื่อ การข่มขู่ และการขัดขวางการเข้าถึงข้อมูล กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่ออกมาจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก กล่องเครื่องมือที่สามเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อให้เสรีภาพในการแสดงออกเจริญงอกงามได้ เช่น การมีนิติรัฐและการมีสื่อมวลชนที่มีอิสระ เสรีภาพ และมีความเป็นพหุนิยมนอกเหนือไปจากการมีภาคประชาสังคมที่กระตือรือล้น

กล่องเครื่องมือที่สี่เป็นส่วนสำคัญที่กล่าวถึงบทบาทของสื่อและสื่อมวลชนที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออก ในขณะที่กล่องเครื่องมือที่ห้ากล่าวถึงสื่อแบบดั้งเดิม เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ และการแพร่ภาพกระจายเสียง และพัฒนาการล่าสุดของโซเชียลมีเดียและเครือข่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก กล่องเครื่องมือที่หกมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่านนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ผ่านแบบฝึกหัด โครงการ และคำถามชวนคิด ซึ่งรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกหรือการจัดตั้งพื้นที่เฝ้าระวังสื่อ สุดท้ายในกล่องเครื่องมือที่เจ็ดจะอภิปรายถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากของเสรีภาพในการแสดงออกและข้อจำกัด นอกจากกล่องเครื่องมือทั้งเจ็ดแล้ว ยังมี “เนื้อหาโบนัส” ที่ปรากฏในกรณีศึกษาของประเทศจำลองชื่อว่า “ซันการา” โดยมีการรวมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจถึงแนวคิดและประเด็นได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

#FreedomOfExpression

 

More from UNESCO Bangkok